เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้รู้ชัดกองลมทั้งปวงระวังลมหายใจ
เข้าหายใจออก ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิ-
วิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเห็น
บรรดาความสำรวม ความไม่ฟุ้งซ่านและความเห็นนั้น ความสำรวม ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ความเห็น ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุเมื่อคำนึงถึงสิกขา 3 นี้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเห็น ชื่อว่า
ศึกษา เมื่อพิจารณา ชื่อว่าศึกษา เมื่ออธิษฐานจิต ชื่อว่าศึกษา เมื่อน้อมใจเชื่อด้วย
ศรัทธา ชื่อว่าศึกษา เมื่อประคองความเพียร ชื่อว่าศึกษา เมื่อตั้งสติไว้มั่น ชื่อว่า
ศึกษา เมื่อตั้งจิตไว้มั่น ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ชัดด้วยปัญญา ชื่อว่าศึกษา เมื่อรู้ยิ่งธรรม
ที่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าศึกษา เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าศึกษา เมื่อละธรรม
ที่ควรละ ชื่อว่าศึกษา เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ ชื่อว่าศึกษา เมื่อทำให้แจ้งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าศึกษา
เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็น
ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก เวทนาย่อมปรากฏเกิดขึ้น ฯลฯ ภิกษุ
เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้กอง
ลมทั้งปวงหายใจเข้าหายใจออก ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลายประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบเป็นประโยชน์” (3)
[171] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราระงับกายสังขารหายใจออก” อย่างไร
กายสังขาร เป็นอย่างไร
คือ ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกาย-
สังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลม
หายใจออกยาว เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุ
เมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่าสำเหนียกอยู่ ลมหายใจเข้าสั้น
ฯลฯ ลมหายใจออกสั้น ฯลฯ ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า ฯลฯ
ลมที่ภิกษุกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปในกาย ธรรมเหล่านี้เนื่อง
ด้วยกาย เป็นกายสังขาร ภิกษุเมื่อระงับ ดับ ทำกายสังขารเหล่านั้นให้สงบ ชื่อว่า
สำเหนียกอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :267 }